วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

สมุนไพรไทย6

katam.jpg (10039 bytes)กระเทียม
Allium sativum Linn. Alliaceae
ชื่อสามัญ GARLIC
ส่วนที่ใช้เป็นยา
หัวใต้ดิน มีรสเผ็ดร้อน
ขนาดและวิธีใช้สำหรับอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
แน่นจุกเสียด ใช้กระเทียม 5-10 กลีบ รับประทาน
หลังอาหาร หรือพร้อมอาหาร
ขนาดและวิธีใช้
สำหรับรักษากลากเกลื้อน ฝานกระเทียมถูบ่อย ๆ บริเวณที่เป็นหรือตำแล้วขยี้ทาบริเวณที่เป็น ก่อนจะทายาใช้ไม้บาง ๆ เล็ก ๆ ที่ได้ฆ่าเชื้อโรคแล้ว (โดยการแช่ในแอลกอฮอล์ 70% หรือต้มในน้ำเดือด 10-15 นาที) ขูดบริเวณที่เป็น ให้ผิวหนังแดง ๆ
สรรพคุณ
- ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด การที่กระเทียมสด ช่วยลดอาการท้องอืดเฟ้อ
ได้ เพราะมีน้ำมันหอมระเหย ช่วยขับลม
- รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน การที่กระเทียมรักษากลาก เกลื้อนได้ เพราะในกระเทียม
มีสารที่ออกฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อรา สารนั้นมีชี่อว่า "อัลลิซิน" ( ALLICIN )
ข้อเสนอแนะ
ห้ามรับประทานกระเทียมขณะท้องว่าง

สมุนไพรไทย5

kachai.jpg (10168 bytes)กระชาย
Boesenbergia pandurata Holtt. Zingiberaceae
ชื่อสามัญ -----
ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าและราก มีรสเผ็ดร้อน ขม
ขนาดและวิธีใช้
ใช้เหง้า หรือรากประมาณครึ่งกำมือ
น้ำหนักสด 5-10 กรัม แห้ง 2-5 กรัม ทุบพอแตก
ต้มกับน้ำพอเดือด ดื่มแต่น้ำ
สรรพคุณ
ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด การที่กระชายช่วยลดอาการท้องอืดเฟ้อได้ เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยช่วยขับลม ช่วยให้ กระเพาะ และลำไส้เคลื่อนไหวดีขึ้น

สมุนไพรไทย4

banana.jpg (10580 bytes)กล้วยน้ำว้า
Musa sapientum Linn. Musaceae
ชื่อสามัญ BANANA

ส่วนที่ใช้เป็นยา

ผลกล้วยห่าม ฝานตากแดด ให้แห้ง บดเป็นผง จะใช้ กล้วยหักมุกห่ามแทน ยิ่งดี

ขนาดและวิธีใช้

ใช้ผล กล้วยห่าม 3 - 4 ช้อนชา หรือ 5 - 7 กรัม ผสมน้ำ
หรือน้ำผึ้ง หนึ่ง ถึง สอง ช้อนโต๊ะ ดื่มวันละ 4 ครั้ง
ก่อนอาหาร และ ก่อนนอน

สรรพคุณ

ใช้ป้องกัน บำบัด โรคแผล ใน กระเพาะอาหาร
การที่ ผงกล้วยดิบ สามารถ ป้องกัน การเกิด แผลใน
กระเพาะอาหาร ได้ เพราะในกล้วย จะมีสาร ไปกระตุ้น ให้เซลล์ใน เยื่อบุกระเพาะ หลั่งสาร
MUCIN ออกมา ช่วยเคลือบกระเพาะ - รักษา อาการ ท้องเสีย การที่ กล้วยห่าม สามารถ แก้อาการ
ท้องเสีย ได้ เพราะมี สารแทนนิน

ข้อเสนอแนะ

รับประทาน กล้วยดิบ แล้ว ถ้ามีอาการ ท้องอืดเฟ้อ ป้องกัน โดยใช้ กล้วยดิบ ร่วมกับขิง หรือกระวาน

สมุนไพรไทย3

king.jpg (10745 bytes)ขิง
Zingiber officinale Rosc. Zingiberaceae
ชื่อสามัญ GINGER
ส่วนที่ใช้เป็นยา
เหง้าแก่สด มีรสเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอม
ขนาดและวิธีใช้ ใช้ขิงแก่สดขนาด 2 หัวแม่มือ หรือน้ำหนัก 5 กรัม ล้างให้สะอาด ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่มครั้งละ 1/3 ถ้วยแก้ว
วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร
ขนาดและวิธีใช้สำหรับอาการ
ไอระคายคอจากเสมหะ
วิธีที่ 1. เหง้าขิงแก่ 2 หัวแม่มือ หรือ 5 กรัม ฝนกับน้ำมะนาว
กวาดคอ ถ้าจะใช้จิบบ่อย ๆ ให้เติมน้ำพอควร

วิธีที่ 2. เหง้าขิงแก่ 2 หัวแม่มือ หรือ 5 กรัม ตำ เติมน้ำ คั้นเอาแต่น้ำแทรกเกลือ ใช้กวาดคอ
ถ้าจะใช้จิบบ่อย ๆ ให้เติมน้ำพอควร
สรรพคุณ
ใช้ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน การที่เหง้าขิงแก่สามารถลดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ เพราะในเหง้าขิงแก่
มีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วย GINGEROL และ SHOGAOL เป็นสารช่วยป้องกัน
การคลื่นไส้อาเจียน แก้อาการท้องอืดเฟ้อ ขับลม การที่เหง้าขิงแก่ ลดอาการท้องอืดเฟ้อ และช่วยขับลมได้
เพราะในเหง้าขิงแก่มีน้ำมันหอมระเหย ช่วยลดอาการไอ และระคายคอ จากการมีเสมหะ การที่เหง้าขิงแก่
สามารถลดอาการไอ และระคายคอจากการมีเสมหะเพราะมีสารออกฤทธ์เป็นสารชนิดเดียวกันกับ
ที่ป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียน คือ GINGEROL และ SHOGAOL

สมุนไพรไทย2

kamin.jpg (8310 bytes)ขมิ้นชัน
Curcuma longa Linn. Zingiberaceae
ชื่อสามัญ TURMERIC
ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าแก่จัด รสฝาด เฝื่อน กลิ่นหอม
ขนาดและวิธีใช้
ใช้เหง้าแก่ตากแห้ง บดเป็นผง ขนาด 500 มิลลิกรัม ปั้นเป็นลูกกลอนกับน้ำผึ้ง หรือจะใส่แคปซูล รับประทานวันละ 4 ครั้ง หลังอาหาร และก่อนนอน
- ใช้เหง้าขมิ้นแก่สดฝนกับน้ำสุก หรือผงขมิ้นชันทาบริเวณที่เป็นฝี แผลพุพอง หรืออักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย
สรรพคุณ
ใช้ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร การที่เหง้าขมิ้นชัน สามารถป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ เพราะในเหง้า มีสารเคอร์คิวมิน ซึ่งจะไปกระตุ้นให้หลั่งสาร MUCIN ออกมา เคลือบกระเพาะอาหาร
- แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม การที่ผงขมิ้นสามารถขับลม บรรเทาอาการ ท้องอืดเฟ้อได้ เพราะมีน้ำมันหอมระเหย เป็นน้ำมันสีเหลือง
- สำหรับรักษาฝี แผลพุพอง การที่ขมิ้นชัน สามารถรักษาฝี แผลพุพองได้ เนื่องจากในขมิ้นชันมีน้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย และมีสารสีเหลือง ชื่อ เคอร์คิวมินมีฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรีย
- ใช้ลดอาการแพ้ อักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย การที่ขมิ้นชัน สามารถลดอาการแพ้ อักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ เนื่องจากในขมิ้นชันมีน้ำมันหอมระเหย และมีสารสีเหลือง
ชื่อ เคอร์คิวมิน มีฤทธิ์ลดการอักเสบ
ข้อควรระวัง
1. การใช้ผงขมิ้นเป็นยารักษาโรคกระเพาะ ถ้าใช้ขนาดสูงเกินไปจะทำให้เกิดแผลในกระเพาะ
2. คนไข้บางคนอาจมีอาการแพ้ขมิ้น โดยมีอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ให้หยุดยา

สมุนไพรไทย1

text.gif (754 bytes)
grapelin.gif (1301 bytes)
ka.jpg (7767 bytes)ข่า
Alpinia nigra B.L. Burtt Zingiberaceae
ชื่อสามัญ GALANGA
ส่วนที่ใช้เป็นยา
เหง้าแก่สด มีรสเผ็ดปร่า ขนาดและวิธีใช้สำหรับอาการ
ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ใช้เหง้าแก่สดหนัก 5 กรัม
ถ้าแห้ง 2 กรัม ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่ม วันละ 3 ครั้ง
หลังอาหาร จนกว่าอาการท้องอืดเฟ้อจะหาย
ขนาดและวิธีใช้สำหรับ
รักษากลากเกลื้อน เหง้าข่าแก่ตำ แช่ในเหล้าโรงไว้ 1 คืน
ใช้น้ำยาทาบริเวณที่เป็น โดยก่อนทาให้ใช้ไม้ไผ่บาง ๆ
ที่ได้ฆ่าเชื้อแล้ว (ทำเช่นเดียวกับการใชกระเทียมรักษากลากเกลื้อน) ขูดบริเวณที่เป็นให้ผิวหนังแดง ๆ ทาบ่อย ๆ วันละ 3-4 ครั้ง จนกว่าจะหาย
สรรพคุณ
ลดอาการท้องอืดเฟ้อ ช่วยขับลม การที่ข่า สามารถลดอาการท้องอืดเฟ้อ และช่วยขับลมได้
เพราะในเหง้าข่าแก่มีน้ำมันหอมระเหยออกฤทธิ์ขับลม
- รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน การที่เหง้าข่าแก่ สามารถรักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อนได้
เพราะมีสารออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อราได้ เป็นน้ำมันหอมระเหย