วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

มงคลชีวิต38ประการ



มงคลชีวิต ๓๘ ประการ
 เป็นหมวดธรรมะที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ และการนำไปปฎิบัติเพราะเป็นหมวดธรรมะที่เป็นขั้นเป็นตอนเกี่ยวเนื่องกัน และสามารถนำไปใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะทำให้ผู้ปฏิบัติมีความสมบูรณ์พร้อม คือฝึกให้เป็นคนดี, สร้างความพร้อมในการฝึกตนเอง, ฝึกตนให้เป็นคนมีประโยชน์, บำเพ็ญประโยชน์ต่อครอบครัวและสังคม, ธรรมะเบื้องสูงใส่ตัวให้เต็มที่, การฝึกภาคปฏิบัติเพื่อกำจัดกิเลสให้สิ้นไป,
ผลจากการปฏิบัติจนหมดกิเลส และยังประโยชน์สูงสุดของการปฏิบัติให้เกิดขึ้น คือ ผู้ปฏิบัติจะมีจิตใจที่สะอาด บริสุทธิ์ บริบูรณ์ หมดกิเลส สามารถทำพระนิพพานให้แจ้ง สร้างบารมีให้ถึงที่สุดแห่งธรรมได้ในที่สุด
พระภาวนาวิริยคุณ
(เผด็จ ทตฺตชีโว)
ปฐมนิเทศน์ มงคลชีวิต ๓๘ ประการ
มงคลที่ ๑ 
ไม่คบคนพาล
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต
มงคลที่ ๓ บูชาบุคคลที่ควรบูชา
มงคลที่ ๔ อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ 
มงคลที่ ๗ พหูสูต
มงคลที่ ๘ มีศิลปะ
มงคลที่ ๙ มีวินัย
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต
มงคลที่ ๑๑ บำรุงบิดามารดา
มงคลที่ ๑๒ เลี้ยงดูบุตร
มงคลที่ ๑๓ สงเคราะห์ภรรยา-สามี
มงคลที่ ๑๔ ทำงานไม่คั่งค้าง
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม
มงคลที่ ๑๗ สงเคราะห์ญาติ
มงคลที่ ๑๘ ทำงานไม่มีโทษ
มงคลที่ ๑๙ งดเว้นจากบาป
มงคลที่ ๒๐ สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม
มงคลที่ ๒๒ มีความเคารพ
มงคลที่ ๒๓ มีความถ่อมตน
มงคลที่ ๒๔ มีความสันโดษ
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู
มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตามกาล
มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน
มงคลที่ ๒๘ เป็นคนว่าง่าย
มงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ
มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล
มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ
มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์
มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง
มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก
มงคลที่ ๓๗ จิตปราศจากธุลี
มงคลที่ ๓๘ จิตเกษม

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

ไม้สัก

ความรู้เกี่ยวกับไม้สัก
ไม้สัก
          
ถิ่นกำเนิดของไม้สัก
            ไม้สัก มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า Teak และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Tectona grandis อยู่ในวงค์ Verbenaceae มีถิ่นกำเนิดอยู่ในตอนใต้ของประเทศอินเดีย พม่า ไทย อินโดนีเซีย และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก
           
ไม้สัก เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ และบางส่วนของภาคกลางและตะวันตก คือ ในท้องที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ สำพูน เชียงราย สำปาง แพร่ น่าน ตาก กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ และพิจิตรและมีบ้างเล็กน้อยในจังหวัด นครสวรรค์ อุทัยธานี และกาญจนบุรี
           
ไม้สัก ชอบขึ้นตามพื้นที่ที่เป็นภูเขา แต่ในพื้นที่ราบที่น้ำไม่ขังไม้สักก็ขึ้นได้ดีเช่นเดียวกัน ในพื้นที่ที่เป็นดินปนทรายแต่น้ำไม่ขัง ไม้สักมักขึ้นเป็นหมู่ไม้สักล้วน ๆ และมีไม้ขนาดใหญ่ ไม้สักชอบพื้นที่ที่มีชั้นดินลึก การระบายน้ำดี ไม่ชอบดินแข็งและน้ำท่วมขัง
           
ไม้สัก ขึ้นได้ดีในดินที่เกิดจากหินหลายชนิด แต่ความเจริญงอกงามของไม้สักขึ้นอยู่กับความลึก การระบายน้ำ ความชื้น และความอุดมสมบูรณ์ ของดินนั้น ๆ โดยเฉพาะในดินที่เกิดจากหินปูนซึ่งแตกแยกผุผังจนกลายเป็นดินร่วนที่ลึก ไม้สักชอบมากและเจริญเติบโตดีมาก ไม้สักชอบดินที่มีความเป็นกลางและด่างเล็กน้อย ค่า pH ระหว่าง 6.5-7.5 ปริมาณน้ำฝน ระหว่าง 1,200-2,000 มม. ต่อปี ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางไม่เกิน 700 เมตร และมีฤดูแล้งแยกจากฤดูฝนชัดเจนจะทำให้ไม้สักมีลวดลายสวยงาม

ท่านทราบหรือไม่
พระที่นั่งวิมานเมฆเป็นสิ่งปลูกสร้างด้วยไม้สักทั้งหลังที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ลักษณะบางประการ
            ไม้สัก เป็นต้นไม้ผลัดใบ ขนาดใหญ่มีลำต้นเปลา มักมีพูพอน ตอนโคนต้นเรือนยอดกลม สูงเกินกว่า 20 เมตร
           
เปลือก หนา 0.30-1.70 ซม.
สีเทา หรือสีน้ำตาลอ่อนแกมเทา แตกเป็นร่องตื้น ๆ ไปตามทางยาวและหลุดออกเป็นแผ่นบาง ๆ เล็ก ๆ
           
ใบ ใหญ่ ความกว้าง 25-30 ซม. ความยาว 30-40 ซม. รูปใบรีมน หรือรูปไข่กลับ แตกจากกิ่งเป็นคู่ ๆ ท้องใบสากหลังใบสีเขียว แกมเทา เป็นขน
           
ดอก เล็กสีขาวนวล ออกเป็นช่อใหญ่ ๆ ตามปลายกิ่งเริ่มออกดอกเดือน มิถุนายน เป็นต้น
           
ผล ค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 ซม. ผลหนึ่ง ๆ มีเมล็ดใน 1-4 เมล็ด เปลือกแข็งมีขนสั้น ๆ นุ่ม ๆสีน้ำตาล หุ้มอยู่ ผลแก่ในราวเดือน พฤศจิกายน-มกราคม
           
ลักษณะเนื้อไม้ สีเหลืองทอง ถึงสีน้ำตาลแก่ มีลายเป็นเส้นสีน้ำตาลแก่แทรก เสี้ยนตรง เนื้อหยาบ แข็งปานกลาง เลื่อยใสกบ ตบแต่งง่าย
คุณสมบัติบางประการ
            ไม้สัก ปลวกและมอดไม่ทำอันตราย เพราะในเนื้อไม้สักมีสารเคมีพิเศษอยู่ชนิดหนึ่ง ชื่อ O-cresyl methyl ether สารเคมีชนิดนี้ค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ของกรมป่าไม้ มีคุณสมบัติ เมื่อทาหรืออาบไม้แล้วไม้จะมีความคงทนต่อ ปลวก แมลง เห็ดราได้อย่างดียิ่ง นอกจากนี้ในไม้สักทอง ยังพบว่ามีทองคำปนอยู่ 0.5 ppm. (ไม้สักทอง 26 ต้น มีทองคำหนัก 1 บาท)
            ไม้สัก เป็นไม้เนื้อแข็งตามมาตรฐานของกรมป่าไม้ จากการทดลองตามหลักวิชาการไม้สักมีความแข็งแรงสูงกว่า 1,000 กก./ตร.ซม.
และมีความทนทานตามธรรมชาติ จากการทดลองนำส่วนที่เป็นแก่นของไม้สักไปทดลองปักดิน ปรากฏว่า มีความทนทานตามธรรมชาติเกินกว่า 10 ปี (ระหว่าง 11-18 ปี)
การคัดเลือกแม่ไม้สักทอง
            การคัดเลือกแม่ไม้ (Plus tree) เป็นวิธีการอย่างหนึ่งในการปรับปรุงพันธุ์ไม้สักทอง ผลจากการคัดเลือกแม่ไม้ จะทำให้ได้สายพันธุ์ของไม้ ที่มีคุณลักษณะดี สำหรับนำไปใช้ในการขยายพันธุ์ ทั้งจากการเพาะด้วยเมล็ดโดยการสร้างสวนเมล็ดพันธุ์ หรือการผลิตกล้าไม้คุณภาพดีแบบ ไม่อาศัยเพศ เช่น การตัดกิ่งปักชำ และ การะเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การมีแม่ไม้ทีดีนั้นอาจเป็นหลักประกันได้ว่า จะให้เมล็ดหรือกล้าไม้ที่ดีสำหรับการ ปลูกสร้างสวนป่าเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถเพิ่มผลผลิตเนื้อไม้ต่อหน่วยเนื้อที่ได้
           
การคัดเลือกแม่ไม้สักทองมีหลักในการพิจารณาอยู่หลายประการ ทั้งการพิจารณาจากลักษณะภายนอก (Phenotypes) และลักษณะภายใน (Genotypes) ลักษณะภายนอกสามารถพิจารณาได้ทันที ตามหลักวิชาการใช้วิธีประเมินค่าลักษณะต่าง ๆ ของต้นไม้ โดยการให้คะแนน ส่วนลักษณะภายในพิจารณาได้ยากเพราะจะต้องมีการโค่นต้นไม้หรือเลื่อยแปรรูปเสียก่อนจึงจะพิจารณาได้ ซึ่งหมายความว่าจะต้องเสียแม่ไม้ที่ให้เมล็ด ไป แต่ถ้าเป็นการตัดกิ่งปักชำ หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เมื่อโค่นแม่ไม้แล้วสามารถใช้หน่อจากต้นตอได้
           
การคัดเลือกแม่ไม้สักทองในประเทศไทย มีลักษณะในการพิจารณากว้าง ๆ ดังนี้
            1.
อายุของต้นไม้
           
ไม้สักทองที่สามารถนำมาทำเป็นแม่ไม้ได้นั้น ควรมีอายุไม่น้อยกว่า 15 ปี ทั้งนี้ เพราะไม้สักทองที่ปลูก จะนำไปใช้ประโยชน์เมื่อมีอายุ ประมาณ 15 ปี ไม่ควรเลือกไม้สักทองที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี เป็นแม่ไม้ ถึงแม้ว่าจะมีขนาดโตตามที่กำหนดไว้ก็ตาม เพราะกล้าไม้ที่ได้จากแม่ไม้ที่มีอายุ น้อยจะไม่แข็งแรงเท่าที่ควร
            2.
ลักษณะของลำต้น
           
ลักษณะภายนอกที่สำคัญประการแรก ในการคัดเลือกไม้สักทอง เพื่อใช้ทำแม่ไม้ ควรคัดเลือกลักษณะของลำต้น ต้องเปลาตรง ไม่บิด คดงอ และกิ่งก้านไม่มาก กล่าวคือ มี clear bole ยาวกว่าต้นอื่น ๆ ทั้งนี้เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการปลูกไม้สักทอง เพื่อใช้ประโยชน์จากลำต้น ไม้สักทองที่มีลำต้นเปลาตรง จะขายได้ราคาแพงกว่าไม้สักทองที่ลำต้นคดงอ
            3.
ขนาดของลำต้น
           
ลักษณะภายนอกที่ควรพิจารณาอันดับต่อไป ก็คือ ขนาดของลำต้น ควรคัดเลือกต้นที่มีขนาดใหญ่กว่าต้นอื่น ๆ ในชั้นอายุเดียวกันซึ่ง ควรมีความโตทางเส้นรอบวงเฉลี่ยปีละไม่น้อยกว่า 7.0 ซ.ม. การคัดเลือกแม่ไม้สักทองโดยพิจารณาความโตเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจาก ต้นไม้ขนาดใหญ่ ย่อมให้ปริมาตรเนื้อไม้ต่อเนื้อที่สูงกว่า และไม้สักทองที่มีความเจริญเติบโตดี จะสามารถถ่ายทอดลักษณะความเจริญเติบโตที่สมบูรณ์แข็งแรงไปยังรุ่น ต่อ ๆ ไปด้วย
            4.
เรือนยอด
           
รูปทรงเรือนยอดต้องเป็นพุ่ม ได้สัดส่วนกับความสูง รัศมีความกว้างของทรงพุ่มรอบเรือนยอดเท่ากัน น้ำหนักเรือนยอดไม่ถ่วงไป ด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป ซึ่งจะทำให้ต้นไม้โค่นล้มได้ง่ายเมื่อเกิดลมพัดแรง
            5.
ลักษณะและคุณภาพของเนื้อไม้
           
วัตถุประสงค์ในการปลูกไม้สักทองนั้น นอกจากต้องการต้นไม้ที่รูปทรงดีและโตเร็วแล้ว ยังมีความต้องการเนื้อไม้สักทองที่มีลวดลาย สวยงามด้วย ดังนั้น ต้นสักที่มีลวดลายสวยงามจึงเป็นที่ต้องการและควรคัดเลือกไว้เป็นแม่ไม้
            6.
ความต้านทานโรคและแมลง
           
ปัจจุบัน ปรากฏว่า สวนสักทองของทางราชการและเอกชนที่ปลูกไว้แล้วมีโรคและแมลงรบกวนเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความเสียหาย ที่บริเวณ ลำต้น ใบ กิ่งก้าน เปลือกหรือส่วนอื่น ๆ ดังนั้น การคัดเลือกแม่ไม้ไว้ทำพันธุ์ ต้องไม่ปรากฏว่ามีร่องรอยของโรคและแมลงรบกวนตามส่วน ต่าง ๆ ของลำต้นดังกล่าวแล้ว
            7.
ความสามารถในการแตกหน่อ
           
ความสามารถในการแตกหน่อของไม้สักทอง จะทราบได้ก็ต่อเมื่อมีการโค่นต้นไม้เสียก่อน แต่ก็เป็นผลดีในการปรับปรุงพันธุ์ การขยายพันธุ์โดยวิธีแตกหน่อในรุ่นต่อไป และการขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แม่ไม้สักทองควรจะต้องมีการแตกหน่อที่ดีและให้หน่อที่ สมบูรณ์ด้วย
            8.
ความสามารถในการแตกรากของกิ่งปักชำ
           
ลักษณะในข้อนี้ มีความจำเป็นสำหรับการเตรียมกล้าไม้สักทองแบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นการใหม่ที่กำลังได้รับการพัฒนาเพื่อการ ปลูกสร้างสวนสักทอง ที่มีประสิทธิภาพในอนาคต การทดสอบความสามารถของแม่ไม้ในข้อนี้ จำเป็นต้องมีการทดลองเก็บข้อมูลไว้สำหรับการ ปรับปรุงพันธุ์
            9.
ความสามารถในการถ่ายทอดและดำรงพันธุ์
           
แม่พันธุ์ที่ดีต้องให้ลูกไม้ที่มีลักษณะเด่นเหมือนแม่พันธุ์นั้นกล้าไม้รุ่นต่อ ๆ ไปต้องไม่กลายพันธุ์ง่าย สามารถถ่ายทอดลักษณะที่ดี ได้ตลอดไป ลักษณะเช่นนี้จะทราบได้ต้องใช้เวลาในการศึกษาทดลองไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะตัดสินใจได้
           สะพานไม้สักที่ยาวที่สุดในโลก   สะพานอูเบ็ง เป็นสะพานที่ยาวถึง 2 กิโลเมตร ทอดข้ามทะเลสาบตองตะมาน ทางตอนใต้ของเมืองอมรปุระ มุ่งตรงไปสู่เจดีย์เจ๊าต่อจี อยู่อีกฟากหนึ่งของทะเลสาบ พระเจ้าปุดงโปรดฯให้ขุนนางนามว่าอูเบ็งเป็นแม่กองงานสร้างสะพานแห่งนี้ โดยใช้ไม้สักที่รื้อจากพระราชวังเก่าแห่งกรุงอังวะจำนวน 1,208 ต้น 

โทรศัพท์เคลื่อนที่

วิทยาศาสตร์

      
         ระบบเศรษฐกิจ   คือ หน่วยเศรษฐกิจและหน่วยธุรกิจรวมตัวกัน  เพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ  ภายใต้รูปแบบของการปกครอง  จารีต  ประเพณี  สังคม วัฒนธรรมของแต่ละประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยตัดสินปัญหาพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจทุกระบบให้บรรลุเป้าหมาย ึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของรัฐบาล จะต้องกำหนดรูปแบบทางเศรษฐกิจ  ออกระเบียบข้อบังคับ  และมีวิธีการควบคมการ ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้เหมาะสม  และเป็นผลดีต่อประเทศ  
        ระบบเศรษฐกิจ  แบ่งเป็น 4 ระบบใหญ่ ๆ คือ ระบบทุนนิยมหรือเสรีนิยม จะให้สิทธิแก่เอกชนในการตัดสินใจดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่  ระบบสังคมนิยม  จะมีการวางแผนจากส่วนกลาง รัฐจะต้องเป็นผู้กำหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ  ระบบคอมมิวนิสต์ ทรัพย์สินทุกอย่างเป็นของรัฐ ภาคเอกชนไม่มีสิทธิเป็นจ้าของปัจจัยการผลิด  และระบบผสม  ส่วนใหญ่เป็นระบบเศรษฐกิจแบบผสม ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ ครัวเรือน ธุรกิจ และรัฐบาล 
          หน้าที่ของแต่ละบุคคลในระบบเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจหน่วยหนึ่ง ๆประกอบด้วยบุคคลจำนวนมาก บุคคลเหล่านี้ปฏิบัติหน้าที่ต่างกัน คือ ผู้ผลิตหรือหน่วยธุรกิจ  ทำหน้าที่ในการผลิตสินค้าและบริการ  โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้กำไรสูงสุด เจ้าของปัจจัยการผลิต  บุคคลที่มีสิทธิอันชอบธรรมตามกฎหมาย เช่น ทรัพย์สิน ทุน ที่ดิน แรงงาน มาให้ผู้ผลิต โดยมีเป้าหมายเพื่อให้มีรายได้มากที่สุด  ผู้บริโภค เป็นผู้ใช้สินค้าหรือบริการ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้รับความพอใจในการแลกเปลี่ยนกับจำนวนเงินที่ต้องจ่ายไป

สิทธิและเสรีภาพ

  1. สิทธิในชีวิตและร่างกาย ประชาชนสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ได้รับความคุ้มครองในชีวิตและร่างกายตามกฎหมาย โดยห้ามการทรมาน ทารุณกรรม หรือลงโทษด้วยวิธีการที่โหดร้ายโดยไร้มนุษยธรรม
  2. สิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคล ประชาชนจะได้รับความคุ้มครองในทรัพย์สิน การสืบทอดมรดก และการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ จะทำได้โดยพลการไม่ได้ และจะต้องได้รับการชดใช้ค่าเสียหายจากการเวนคืนนั้นอย่างเป็นธรรม
  3. สิทธิในการรับข้อมูลข่าวสารของสาธารณะและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ประชาชนมีสิทธิรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นสาธารณะของหน่วยงานรัฐ และหน่วยงานอื่นๆ มีสิทธิขอข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐในการดำเนินการโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้องและความเป็นอยู่ ตลอดจนมีสิทธิในการทำประชาพิจารณ์
  4. สิทธิในการแจ้งความร้องทุกข์ ประชาชนมีสิทธิร้องทุกข์ในเรื่องต่างๆ และมีสิทธิฟ้องหน่วยงานของรัฐได้
  5. สิทธิของคนวัยต่างๆ สิทธิของเด็ก คนชรา และคนพิการ จะได้รับความคุ้มครอง โดยเด็กจะได้รับการดูแลและคุ้มครองโดยรัฐจากความโหดร้ายทารุณ คนชราและพิการมีสิทะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐตามความเหมาะสม
  6. สิทธิของผู้บริโภค สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
  7. สิทธิของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญา ศิลปะ และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น และมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับองค์การปกครองท้องถิ่น
  8. สิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญา ประชาชนจะต้องไม่รับโทษอาญายกเว้นถ้ามีการทำความผิดตามที่กฎหมายระบุไว้
  9. เสรีภาพในการนับถือศาสนา ประชาชนจะเลือกนับถือศาสนาใดก็ได้ที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
  10. เสรีภาพทางการเมือง ประชาชนมีเสรีภาพในการรวมตัวการตั้งพรรคการเมืองตามระบบประชาธิปไตย
  11. เสรีภาพของสื่อมวลชน สื่อมวลชนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสนอข่าวสาร ได้อย่างอิสระ

หุ่นยนต์เพื่อการทำสงคราม

การทำขนมปัง

วัคถุดิบในการทำขนมปัง
ยีสต์

มีหน้าที่ช่วยเพิ่มปริมาตรของขนมปัง ทำให้มีลักษณะเนื้อและโครงสร้างที่ดี มีกลิ่นรสเฉพาะตัว ซึ่งเกิด
จากปฏิกิริยาการหมัก ทำให้เกิดแกสคาร์บอนไดออกไซด์ จากสารประกอบต่าง ๆ ในแป้ง ด้วยเหตุนี้เองจึงทำ
ให้แป้งโดขยายตัวใหญ่ขึ้น

ชนิดของยีสต์ที่ใช้ในการทำขนมปัง

ยีสต์สด ต้องเก็บในตู้เย็นและมีอายุการเก็บสั้น
ยีสต์แห้ง แบบละลายน้ำก่อน ยีสต์ชนิดนี้ไม่ต้องเก็บรักษาในตู้เย็น การใช้ละลายในน้ำอุ่นที่ 38 ํ ซ. โดยใช้น้ำ
5 เท่า ของยีสต์ เติมน้ำตาล 10 % ของน้ำหนักยีสต์ เช่น ยีสต์ 10 กรัม น้ำ 50 กรัม น้ำตาล 1 กรัม

ยีสต์แห้งแบบอินสะแตนท์ หรือยีสต์ผง ยีสต์ชนิดนี้ไม่ต้องเก็บรักษาในตู้เย็น เพราะสามารถเก็บรักษาได้ที่
อุณหภูมิห้องธรรมดา เมื่อเปิดใช้แล้วเก็บในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท และช่วยลดเวลาในการผสมของแป้ง

แป้งสาลี

แป้งสาลีที่มีขายอยู่ทั่วไปในท้องตลาดมี 3 ชนิด คือ

แป้งสาลีชนิดหนัก หรือแป้งขนมปัง
แป้งสาลีชนิดธรรมดา หรือแป้งสาลีอเนกประสงค์
แป้งสาลีชนิดเบา หรือแป้งเค้ก

แป้งขนมปังมีโปรตีนสูงกว่า 10.5 % ขึ้นไป และมีเถ้าอยู่ประมาณ 0.40-050 % เนื่องจากแป้งขนมปัง
มีโปรตีนสูง ดังนั้นโดยทั่วไปจะใช้ทำขนมที่ชึ้นฟูด้วยยีสต์ แป้งชนิดนี้มีความสามารถในการดูดซึมน้ำได้สูงใช้
เวลาในการผสมและการหมักนาน ทนต่อความแรงในการผสมได้ดี

ผลการวิเคราะห์แป้งสาลี

เมล็ดข้าวสาลีที่นำมาโม่เป็นแป้งสาลี โดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบที่แตกต่างกัน เช่น ปริมาณโปรตีน แต่
องค์ประกอบเหล่านั้นไม่มีผลเนื่องจากการสกัดแป้งสาลีจากเมล็ดข้าวสาลี

แป้งสาลีมีองค์ประกอบดังนี้

ความชื้น 13.0 - 15.0 %
แป้ง 65.0 - 70.0 %
โปรตีน 3.0 - 8.0 %
น้ำตาล 1.0 - 1.5 %
ไขมัน 0.8 - 1.5 %
เซลลูโรส(เล็กน้อย) 0.2 %
แร่ธาตุอื่น ๆ 0.3 - 0.7 %


โปรตีนในแป้งสาลีจะดูดซึมได้อย่างน้อยสองเท่าของน้ำหนักของตัวมันเอง แป้งสาลีที่มีโปรตีนจะมีความ
สามารถในการดูดซึมน้ำได้ดีกว่าแป้งสาลีที่มีโปรตีนด่ำ เมื่อเติมน้ำลงไปในแป้งสาลีแล้วนวด โปรตีนจะเกิดการ
เปลี่ยนแปลงเป็นกลูเต้น แป้งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงจะถูกเรียกว่า โด หมักโดได้ระยะหนึ่งนำมาล้างน้ำ ส่วน
ประกอบต่าง ๆ จะหลุดออกไปเหลือเพียงส่วนที่เรียกว่ากลูเต้น ซึ่งเป็นโปรตีนที่ยึดหยุ่นได้และเป็นโครงสร้างของ
โด กลูเต้นจะอุ้มก๊าซที่เกิดจากการหมักไว้ ทำให้โดขึ้นฟู นำโดไปอบเมื่อกลูเต้นถูกความร้อนจะแข็งตัว ทำให้เกิด
เป็นโครงสร้างของขนมปัง

ลักษณะสำคัญของแป้งที่ช่างทำขนมปังต้องการ

สี

ในขนมปัง สีของแป้งมีความสำคัญมาก เพราะจะทำให้เกิดความน่ารับประทาน แป้งสาลีโดยทั่วไปจะมี
สีครีม ซึ่งสามารถทำให้ขาวได้สารฟอกสีหรือการบ่มแป้ง

ความเหนียว

ความเหนียวของแป้งขนมปัง หมายถึงความสามารถในการอุ้มก๊าซที่เกิดขึ้นจากการหมักและการขยายตัว
เป็นก้อนโดได้ มีการดูดซึมน้ำสูง การดูดน้ำหมายถึง ความสามารถในการอุ้มน้ำไว้ในก้อนโดได้มาก ทำให้ได้
ขนมปังเนื้อนุ่ม เพราะมีปริมาณน้ำมาก ถ้าแป้ง 100 กรัม ดูดซึมน้ำได้ 60 กรัม แสดงว่าแป้งนั้นมีความสามารถ
ดูดน้ำได้ 60 % แป้งต่างชนิดกันสามารถดูดน้ำได้ต่างกัน

ความทน

แป้งขนมปังควรมีความทนสูง คือ ทนต่อการผสม และทนต่อการหมัก ทำให้ได้ขนมปังที่มีคุณภาพ

การเก็บรักษาแป้ง

ควรเก็บแป้งในที่ที่มีการถ่ายเทอากาศดี จะทำให้แป้งใหม่อยู่ได้นาน

ห้องเก็บแป้งไม่ควรมีกลิ่นแปลกปลอม เพราะแป้งดูดกลิ่นได้ง่าย น้ำ

น้ำเป็นตัวสำคัญในการทำขนมปัง ช่วยให้เกิดกลูเต้น

หน้าที่ของน้ำในการทำขนมปัง

ทำให้เกิดกลูเต้น
เป็นตัวควบคุมความคงตัวของโด
เป็นตัวละลายส่วนผสมอื่น ๆ ให้เข้ากัน
เป็นตัวช่วยให้ขนมปังชื้น


เกลือ

เกลือ เป็นส่วนผสมที่ถูกที่สุดและใช้น้อยที่สุดในการทำขนมปัง เกลือที่มีคุณภาพดีควรละลายง่าย และได้
สารละลายที่ใส การใช้เกลือในการทำขนมปัง เพื่อ

ทำให้ขนมปังมีกลิ่น และรสชาติดี
ทำให้ระยะเวลาการหมักสม่ำเสมอ
ช่วยให้เนื้อขนมปังขาวขึ้น
เพิ่มความแข็งแรงแก่กลูเต้น
ป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในการหมัก

ไข่

การทำขนมปังหวานจะมีส่วนผสมของไข่รวมอยู่ด้วย ไข่ช่วยเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ ยังช่วยให้โครง
สร้างของขนมปังดีขึ้น เพิ่มความนุ่มให้กับขนมปัง ทำให้ขนมปังมีสีสวย ซึ่งไข่มีความชื้น 75 % สามารถเก็บ
รักษาความชื้นไว้ในขนมปังได้ ช่วยชลอการแห้ง หรือแข็งตัวของขนมปัง


นม

นมที่นิยมใช้ในการทำขนมปัง คือ นมผงที่สกัดไขมันหรือนมปราศจากไขมันซึ่งมีราคาถูก และสามารถเก็บ
ไว้นาน แต่บางส่วนผสมจะนิยมใช้นมข้นจืด เพราะจะช่วยให้ขนมปังมีความชื้นสูง เนื้อขนมปังจึงนิ่มอยู่ได้นาน


น้ำตาล

การใช้น้ำตาลในการทำขนมปัง เพื่อให้เกิดความหวานและเกิดการหมักขึ้น เพราะน้ำตาลเป็นอาหารของ
ยีสต์


หน้าที่ของน้ำตาลในการทำขนมปัง

ช่วยเพิ่มความทนในการหมัก
ช่วยทำให้ผิวของขนมปังมีสีน่ารับประทาน
เป็นตัวเพิ่มกลิ่น รส และทำให้เกิดความหวาน
มีส่วนช่วยทำให้เนื้อขนมปังนุ่ม


ไขมัน

ไขมันที่ใช้ทำขนมปังมีหลายชนิด เช่น เนยสด มาการีน เนยขาว การใช้ไขมันในขนมปัง เพื่อช่วยให้เกิด
ความนุ่ม และช่วยให้เกิดลักษณะเนื้อขนมปังที่ดี ทั้งช่วยให้มีสี กลิ่น รส


หน้าที่ของไขมันในการทำขนมปัง

ช่วยเพิ่มปริมาตรของขนมปัง
ทำให้เนื้อขนมปังนุ่ม และเป็นใย
ช่วยให้รูพรุนในเนื้อขนมปังให้สม่ำเสมอ
ถ้าใช้ในปริมาณมากขึ้นจะช่วยให้เนื้อ และผิวของขนมปังนุ่ม
ช่วยให้เนื้อของขนมปังเป็นเงา ผิวขนมปังเป็นมัน น่ารับประทาน


ส่วนผสมอื่น

ได้แก่ กลิ่น รส ชนิดต่าง ๆ เช่นวานิลา กาแฟ โกโก้ และผลไม้แห้ง เช่น ลูกเกด เมล็ดมะม่วงหิมพานต์
เชอรี่เชื่อม ฯลฯ ส่วนผสมเหล่านี้จะทำให้กลิ่นรสของขนมปังดีขึ้น และยังเป็นการแยกชนิดของขนมปังได้